เพลงเทคโนแห่งเบอร์ลิน – ร่องรอยซอฟต์ พาวเวอร์ในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ส่วนใหญ่แล้ว มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มักเป็นวัฒนธรรม ประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ให้ความรู้สึกแบบดั้งเดิมมากกว่า ซึ่งผ่านการบ่มเพาะมาเป็นระยะเวลานาน จนสามารถเป็นตัวแทนให้แก่ประเทศนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นปี่สก็อตของสก็อตแลนด์ หรืออย่างล่าสุด “สงกรานต์ไทย” ที่ถูกรับรองไปเมื่อไม่นานนี้ ทว่า ไม่เพียงแต่วัฒนธรรมดั้งเดิมเท่านั้นที่จะสามารถเป็นตัวแทนของประเทศได้ แต่ในบางครั้ง วัฒนธรรมสมัยใหม่ก็สามารถทำหน้าที่นั้นได้ด้วยเช่นกัน เมื่อ 13 มี.ค. 2024 ที่ผ่านมา ยูเนสโก ประกาศยก แนวเพลงเทคโนในพื้นที่เบอร์ลิน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศเยอรมนี ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของวงการเทคโนในเบอร์ลิน หลังรณรงค์กันมานานกว่าสิบปี จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อาจจะต้องย้อนกลับไป ตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น ที่นอกจากการแบ่งแยกพื้นที่ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ในทางกายภาพแล้ว “ดนตรีป็อป” ยังเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งแยกแนวความคิดเหล่านี้อย่างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการพยายามต่อสู้กันผ่านซอฟต์พาวเวอร์ที่แต่ละฝ่ายมี แทนการใช้อาวุธสงครามโจมตีกันอย่างในช่วงสงครามโลก โดยครึ่งแรกของทศวรรษ “ดนตรีร็อก” เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการสื่อสารแนวคิดเหล่านี้ในพื้นที่ต่างๆ ประเทศเยอรมนี เองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เต็มไปด้วยร่องรอยของซอฟต์พาวเวอร์นี้ ทำให้เนื้อเพลงเยอรมนีสองฝั่งกำแพงเบอร์ลินในช่วงยุค 80 แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยที่ฝั่งตะวันตกมักจะมีเพลงที่สื่อถึงเสรีภาพและประธิปไตย ในขณะที่ฝั่งตะวันไม่เป็นเช่นนั้น แม้ฝั่งตะวันออกจะรับอิทธิพลทางดนตรีมาบ้าง แต่เนื้อเพลงก็จะพูดถึงเรื่องอื่นแทน ก่อนที่ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ ดนตรีเทคโน เริ่มกลายเป็นแนวเพลงที่มีอิทธิพลกับเยอรมนีมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหลังกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงในปี 1989 เนื่องจาก ดนตรีเทคโนเป็นแนวเพลงที่เกิดจากการสังเคราะห์เสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แถมยังไม่มีเนื้อร้อง มันจึงไม่มีทางสื่อความหมายหรือสอดแทรกแนวคิดทางการเมือง “มันจึงสื่อถึงอะไรก็ได้ ตามแต่ที่ผู้ฟังต้องการ เมื่อกำแพงที่ขวางกั้นสิ้นสุดลง พื้นที่อาคารร้างเมืองเบอร์ลินถูกจับจองจากเหล่าหนุ่มสาว ผู้โหยหาเสรีภาพจากทั้งสองฟากฝั่งที่มารวมตัวกัน เพื่อสังสรรค์และเพ้อฝันถึงชีวิตในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น พร้อมเปิดเพลงแนวเทคโนที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงนั้น จนก่อเกิดคลับแนวเพลงเทคโนจำนวนมาก ณ ห้างสรรพสินค้าร้างแห่งหนึ่งในเมืองฝั่งตะวันออก มีคลับเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อ Tresor เชื้อเชิญโปรดิวเซอร์แนวเพลงเทคโนจากเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองต้นกำเนิดแนวเพลงเทคโนมาเล่นที่เบอร์ลิน ยิ่งทำให้เพลงแนวนี้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนท้ายที่สุด ในขบวนเฉลิมฉลอง ‘Love Parade’ มีการเปิดเพลงเทคโนไปทุกหนแห่ง ส่งเสียงเปลี่ยนให้เบอร์ลินกลายเป็นเมืองแห่งเพลงเทคโนมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ไม่ว่าจะอยู่มุมไหน หรือจะเช้าตรู่ขนาดไหน เราก็สามารถฟังเพลงแนวเทคโนในเบอร์ลินได้เสมอ การได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกจึงเป็นเหมือนการการันตีความปลอดภัยให้แนวเพลงเทคโนไปอีกขั้น เพราะ แนวเพลงเทคโนของเบอร์ลินจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากขึ้น หลังต้องเผชิญกับ “วิกฤตการเที่ยวคลับ” ในช่วงโควิด-19 ที่ส่งผลให้ค่าเช่าที่และค่าจ้างพุ่งสูงขึ้น สวนทางกับรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาฟังเพลงเทคโนที่เบอร์ลิน รวมถึง คลับแนวเพลงเทคโนต่างๆ จะยังได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้น ภายใต้กฎหมายการวางผังเมืองอีกด้วย แม้ดนตรีเทคโนจะไม่มีเนื้อร้อง