Skip links

Events

คิง เพาเวอร์ เฉลิมฉลองวันมหาสงกรานต์สุดคึกคัก ในงาน “อภิมหาสงกรานต์รางน้ำ มโหฬาร มหาสนุก” ยกทุก BEACH! สนุกสุดขีดให้โลกจำ

พบกับขบวนพาเหรดสุดยิ่งใหญ่จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-รางน้ำ นำโดย อาโป-ณัฐวิญญ์, วิน-เมธวิน, ต้าห์อู๋-พิทยา และออฟโรด-กันตภณ
Tags

คิง เพาเวอร์ “อภิมหาสงกรานต์รางน้ำ มโหฬาร มหาสนุก” จัดเต็มกับอภิมหาความบันเทิงตลอด 6 วันเต็ม เริ่มวันนี้ – 15 เม.ย. นี้

(10 เมษายน 2568) กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย – กทม. – ททท. และ ชุมชนย่านรางน้ำ ยกระดับความสนุกสุดขีด ชวนปักหมุดเทศกาลสงกรานต์ ที่งาน “อภิมหาสงกรานต์รางน้ำ มโหฬาร มหาสนุก” ยกทุก BEACH! สนุกสุดขีดให้โลกจำ คิกออฟเทศกาลสงกรานต์กับพิธีเปิดงานสุดยิ่งใหญ่ โดยได้รับเกียรติจาก คุณแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมร่วมชมขบวนพาเหรด จากศิลปินและนักแสดงสุดฮอตแห่งปี เจฟ-วรกมล ซาเตอร์, หลิงหลิง-ศิริลักษณ์ คอง, ออม-กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ และ เอม-สรรเพชญ์ คุณากร นำทัพขบวนความสนุกสุดหรรษาท่ามกลางกิจกรรมไฮไลต์ ที่ต้องมา “สาด เต้น เล่น กิน ช้อป สนุกสุดขีดให้โลกจำ” ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ พบกับ โปรโมชันจัดเต็ม และกิจกรรมอัดแน่นตลอด 6 วัน เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 15 เม.ย. 2568 ที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ  เริ่มแล้วงาน “อภิมหาสงกรานต์ รางน้ำ มโหฬาร มหาสนุก” ยกทุก BEACH! สนุกสุดขีดให้โลกจำ โดยความร่วมมือของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพมหานคร, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และชุมชนย่านรางน้ำ กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 – 15 เม.ย. 2568 ณ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างสีสันความสนุกให้กับช่วงเทศกาลของไทยให้ยิ่งใหญ่คึกคักสู่สายตานักท่องเที่ยวทั่วโลก พร้อมผลักดันให้ย่านรางน้ำก้าวสู่การเป็น GLOBAL FESTIVALISATION เดสติเนชั่นแห่งการเฉลิมฉลองในทุกเทศกาล ตอกย้ำย่านรางน้ำเป็นแลนด์มาร์กสำหรับการเล่นน้ำสงกรานต์  โดยในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก คุณแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย คุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ร่วมด้วยคุณอนุทิน ชาญวีรกูล  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, คุณอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย, คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย และคุณวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมชมความยิ่งใหญ่ของขบวนพาเหรดอภิมหาสงกรานต์ รางน้ำ มโหฬาร มหาสนุก จากทัพศิลปินและนักแสดงสุดฮอตแห่งปี เจฟ-วรกมล ซาเตอร์, หลิงหลิง-ศิริลักษณ์ คอง, ออม-กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ และ เอม-สรรเพชญ์ คุณากร เดสติเนชั่นแห่งการเฉลิมฉลองในทุกเทศกาล ตอกย้ำย่านรางน้ำเป็นแลนด์มาร์กสำหรับการเล่นน้ำสงกรานต์ 
Tags

งานหนังสือ 68 มีอะไร? งานไม่ใหญ่แน่นะวิ

1) เพิ่มฮอลล์ ขยายพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น จากเดิม 15,000 ตารางเมตร เป็น 20,000 ตารางเมตร 2) ขยายบูธเพิ่มเป็น 1,200 บูธ จาก 400 สำนักพิมพ์ 3) หนังสือที่งานกว่า 2,000,000 เล่ม 4) เพิ่มกิจกรรมพบปะระหว่างนักเขียนกับนักอ่าน ตามโซนต่างๆ ให้มากขึ้น รวมไปถึงนักเขียนต่างชาติ ที่จะได้เจอกับนักอ่านไทยมากขึ้นด้วย 5) ต่อยอด Bangkok Right Fair หรืองานซื้อขายลิขสิทธิ์ในลักษณะ B2B ให้สำนักพิมพ์ต่างชาติร่วมเจรจาซื้อขายลิขสิทธิ์กันภายในงานหนังสือ ซึ่งประสบผลสำเร็จมาจากปีก่อนหน้า และในปีนี้ มีสำนักพิมพ์ต่างชาติเดินทางมาร่วมกว่า 14 ประเทศ และทางผู้จัดคาดการณ์ตัวเลขซื้อขายสูงถึง 65 ล้านบาท 6) บูธตัวแทนจากต่างประเทศ อาทิ จีน ไต้หวัน อิหร่าน ยูเครน ฯลฯ ที่มาร่วมสมทบความเป็นงานหนังสือนานาชาติให้ยิ่งใหญ่ขึ้น ในส่วนของเราเองก็มี 7) นิทรรศการหนังสือแปล ที่ได้รับทุนการแปลเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานของ Soft Power สาขาหนังสือ ที่ต้องการนำผลงานไทยไปบุกตลาดโลกให้มากขึ้นกว่าเดิม 8) นิทรรศการหนังสือที่ผู้จัดคัดเลือกมา ในที่นี้ทางเราขอใช้คำว่า “หนังสือแนะนำที่คนยังไม่ค่อยได้อ่าน” โดยมีกรรมการคัดสรรเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพราะว่ากันตามตรง วงการหนังสือก็ไม่ต่างจากวงการสร้างสรรค์อื่นๆ ที่ยิ่งนานวัน ก็ยิ่งมีฐานผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มของตนเองมากขึ้น กล่าวคือ niche market เติบโตและแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งต่อให้เป็นนักอ่านที่ท่องทะยานโลกอักษรมากขนาดไหน ก็ยากที่จะมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มอื่น หรือในภาพรวม นิทรรศการลักษณะนี้ก็สามารถชี้เป้า “ของดีที่เราอาจตกหล่นไป” ได้เช่นกัน 9) โซนพิเศษ “นวดเพื่อสุขภาพ” ใครเดินจนปวดเมื่อยก็เข้าไปใช้บริการได้ (แว่วๆ มาว่าราคาย่อมเยาว์ซะด้วยนะ) ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า “จะทำยังไงให้งานหนังสือไม่ใช่แค่แหล่งขายหนังสือ” “งานหนังสือต้องไม่ใช่มหกรรมลดราคาหนังสือ” “และต้องไม่ใช่พื้นที่เอื้ออาทรระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย” เอาเข้าจริง ปัญหาวงการหนังสือบ้านเรายังมีให้สาธยายอีกมาก แต่หากจำกัดวงแคบมาเฉพาะที่งานหนังสือ คงต้องบอกว่า มีอีกมากมายที่เราสามารถยกระดับขึ้นได้อีก ทั้งการเป็นตัวแทนของคนวงการหนังสือทั้งประเทศ และความเป็นอีเวนต์ระดับนานาชาติของอาเซียน ยังไม่นับรวมถึงรายละเอียดปลีกย่อย อาทิ ไม่มีเก้าอี้-ที่นั่ง
Tags

Key Success ของคนทำ Festival ปั้นเทศกาลให้ปัง พร้อมดัน Soft Power

งานเทศกาล นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติได้จำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นงานเทศกาลดั้งเดิม หรือ งานเทศกาลสมัยใหม่ ก็ล้วนแต่เป็นที่สนใจในระดับสากล  ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่แนวคิดที่จะยกระดับและผลักดันงานเทศกาลของไทยให้มีหน้ามีตาทัดเทียมเทศกาลระดับโลก ด้วยความร่วมมือจาก TCEB, THACCA, OFOS และ EMA ซึ่งได้จัดการอบรมพิเศษในโครงการ Event Think Tank เป็นเวลา 2 วัน สำหรับทุกฝ่ายที่สนใจ Festival ยิ่งไปกว่านั้น ภายในงานยังได้รวมเอาคนในวงการที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมแบ่งปันความรู้ และแชร์วิธีคิดที่น่าสนใจ แต่ละคนที่มาเรียกได้ว่ารุ่นใหญ่ทั้งนั้น โดยในวันที่ 2 ของการอบรม มีประเด็นที่เราเก็บมาฝากได้ดังนี้ 1. นิมิตร พิพิธกุล เจ้าของงาน puppet festival / อุปนายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติ “ทุกอย่างเป็นเทศกาลได้ แต่เทศกาลจะสร้างให้มีทุกอย่างไม่ได้” ประโยคง่ายๆ ที่สรุปใจความได้อย่างครบถ้วน คือคุณนิมิตรกำลังบอกว่า เราสามารถจัดเทศกาลได้จากทุกอย่างนี่แหละ ตัวคุณนิมิตรเองก็จัดงานจากสิ่งเล็กๆ อย่าง “หุ่น” จนกลายมาเป็น “เทศกาลหุ่นโลก” ซึ่งจัดมาแล้วกว่า 28 ครั้ง โดยรวบรวมเอาหุ่นมาจากทั่วมุมโลก อันเป็นภูมิปัญญา วัฒนธรรม และสินค้าของแต่ละแห่ง  แต่กระนั้นก็ตาม ใช่ว่าเทศกาลจำเป็นต้องมีทุกอย่าง เพราะบางครั้งการทำให้มีทุกอย่าง เช่น อาหาร เสื้อผ้า ดนตรี กีฬา ฯลฯ อาจทำให้ตัวงานไม่เป็นที่จดจำ สุดท้ายแล้วคนก็ลืมว่ามันคืองานอะไร เพราะฉะนั้น ควรเลือกแก่นให้ชัดเจนว่าจะทำอะไร ต่อให้สิ่งนั้นจะเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มแค่ไหนก็ตาม “เมื่อเราทำเทศกาล ไม่ใช่ว่าเรา(คนไทย)รู้จักไหม แต่คือโลกรู้จักไหม เพราะทั่วโลกมี 193 ประเทศ และทุกประเทศมีหุ่น ซึ่งมันไม่ใช่แค่ของสำหรับเด็กเล่น แต่คือวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และสินค้าของแต่ละชาติ” ในบริบทนี้ คุณนิมิตรยังกล่าวเสริมอีกว่า สำหรับการทำงานเทศกาล โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างชาติ “ความเคารพ” เป็นเรื่องสำคัญ ในที่นี้ไม่ใช่แค่การให้พื้นที่ ให้โอกาส หรือให้เวลาโดยเท่าเทียมกัน แต่เป็นการเคารพตัวตนและอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชน  “อย่าเอาเขามาเปลี่ยน เราไม่แปร art เขามาเป็น product
Tags

Design Up+Rising ปลุกชีวิตใหม่ให้ย่านเก่า เยาวราช-ทรงวาด, หัวลำโพง

เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หรือ bangkok design week ปีนี้ ดำเนินมาเป็นปีที่ 8 ด้วยแนวคิด “Design Up+Rising: ออกแบบพร้อมบวก+” เพื่อสร้างพลังบวกผ่านงานออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ พร้อมต่อยอดศักยภาพทางสังคม เศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเมืองและเปิดโอกาสใหม่ๆ แด่คุณภาพชีวิตของผู้คนในย่านต่างๆ ทั้งนี้ จากเส้นทางที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้นำชมในช่วงเปิดตัว บนเส้นทางเยาวราช-ทรงวาด และหัวลำโพง ซึ่งมีงานออกแบบจัดแสดงเรียงรายตามจุดต่างๆ โดยประสานมุมมองในชุมชนนั้นๆ ไว้อย่างน่าสนใจ 1. เริ่มต้นกันที่ย่าน เยาวราช-ทรงวาด พื้นที่ชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงเสน่ห์แห่งอดีตเอาไว้ตามที่อยู่อาศัย ซอกมุมอาคาร รวมไปถึงวิถีชีวิตที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น แม้บางอย่างจะเลือนจางไปตามเวลา แต่หลายอย่างยังเข้มข้นอยู่ในบรรยากาศระหว่างสองข้างทาง โดยแต่เก่าก่อน ย่านเยาวราช-ทรงวาด ถือเป็นพื้นที่ค้าขายอันหลอมรวมวัฒนธรรมทั้งชาวไทย จีน และอินเดีย อยู่ร่วมกัน โดยเรายังสามารถพบเห็นสิ่งหลงเหลือทางประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตตลอดเส้นทางชุมชนแห่งนี้ โดยไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดในย่านเยาวราช-ทรงวาด ได้แก่ 1.1 ตู้โทรสุข by V&FS & Heartsell & Do Itt Now ตู้โทรศัพท์ที่ให้เราเลือกยกหูหาคนอายุตั้งแต่ 1-100 ปี โดยปลายสายจะบอกเล่าถึง “เคล็ดลับคิดบวก” ในช่วงอายุของตนให้เราฟัง เพื่อส่งต่อพลังบวกแก่กันและกัน นับว่าเป็นคอนเซ็ปต์ที่ดีทีเดียว ซึ่งตู้สีเหลืองเด่นนี้ ตั้งอยู่ระแวกตึกเก่าของถนนทรงวาดพอดี บรรยากาศให้สุดๆ ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program/105321 1.2 Spice Road by vice versa ที่นี่ไม่ได้มีแค่ตึกเก่า ไม่ได้มีแค่โกดังสินค้า แต่ยังมีกลิ่นที่ลอยมาแตะปลายจมูกอยู่เนืองๆ เป็นกลิ่นที่บอกเล่าว่า ณ จุดนี้ เคยเป็นศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพฯ มาก่อน โดยเฉพาะกลิ่นเครื่องเทศที่อบอวลตามร้านค้า ซึ่งเป็นเครื่องสะท้อนถึงชุมชนชาวอินเดียเคยมาตั้งรกรากค้าขายที่นี่ และกลิ่นที่เคยอบอวลในตลาดหรือในโกดังสินค้า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน ทว่ามันซึมลึกอยู่ในอิฐเก่าๆ ตามซอกซอย อยู่ในจานอาหาร และบางทีอาจอยู่ในความทรงจำของใครบางคน นิทรรศการ Spice Road คือการปลุกกลิ่นเก่าให้กลับมามีชีวิต ผ่านเรื่องราวของสามยุคตั้งแต่ยุคที่เครื่องเทศเดินทางข้ามแผ่นดินมาสู่ย่านนี้ ยุคที่กลิ่นเหล่านั้นหลอมรวมเข้ากับอาหารไทย และยุคที่กลิ่นต่างๆ ถูกแปรเปลี่ยนเป็นน้ำมันหอมระเหย พร้อมส่งผ่านความผ่อนคลายไปสู่วันพรุ่งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติม

KING POWER ลุยจัดงานใหญ่รับตรุษจีน ต๊อบ-อัยยวัฒน์ พร้อมแถลงร่วมด้วย ชัชชาติ, ตูน-อาทิวราห์, ใหม่-ดาวิกา ฯลฯ

คิง เพาเวอร์ ประกาศจัดงานใหญ่รับตรุษจีน 2025 กับงาน “KING POWER CHINESE NEW YEAR 2025 ช้อป ดวง ปัง SHOP THE LUCKIEST FORTUNES”  เพื่อย้ำภาพการเป็นเดสติเนชั่นแห่งการเฉลิมฉลองในทุกเทศกาล ให้ประเทศไทยเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลของชาติใดก็ร่วมเฉลิมฉลองไปด้วยกันได้  โดยงานนี้ นอกจาก ต๊อบ-อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ จะมาประกาศความมุ่งมั่นด้วยตัวเองแล้ว ยังได้รับเกียรติจาก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี และตัวแทนความร่วมมือจากภาครัฐ เพื่อร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นแลนด์มาร์คสำคัญระดับโลก และความพิเศษของปีนี้ แน่นอนว่าต้องยิ่งใหญ่กว่าเดิม! เตรียมพบกับไฮไลท์สุดอลังการ: • ขบวนพาเหรด 12 นักษัตรสุดตระการตา • พญานาคยักษ์ลอยฟ้า ยาว 36 เมตร ผสานความอลังการของมังกรจีน และเสน่ห์แห่งมนต์ขลังของสิงห์โบราณ • โชว์สุดพิเศษ “THE GUARDIANS OF HARMONY: RISE OF SERPENT”  นำโดย ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่, รีเบคก้า แพทรีเซีย อาร์มสตรอง, เจษ-เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ และ ไบเบิ้ล-วิชญ์ภาส สุเมตติกุล และเซอร์ไพรส์พิเศษ! พบกับโชว์สุดเอ็กซ์คลูซีฟจาก “ตูน-อาทิวราห์” ที่จะมามอบความสนุกสนานด้วยการประสานเพลงร็อคให้เข้ากับดนตรีที่มีกลิ่นไอความเป็นจีน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง  อีกทั้งยังมี จุดสักการะ 3 มหาเทพมงคลจากวัดทิพยวารีวิหาร เสริมดวง แก้ชง เปิดรับความปังในศักราชใหม่ รวมถึงของอร่อยจากร้านเด็ด 17 ร้านดัง ที่พร้อมเสิร์ฟทั่วทั้งงาน ส่วนสายช้อปก็ห้ามพลาด มีโปรโมชั่นดีๆ และกิจกรรมเฮงๆ อีกมากมาย  มาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความเฮง เฮง เฮง ได้ที่ ฟาวน์เท่น สแควร์ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ

เที่ยวคริสต์มาสสไตล์เยอรมัน จิบเบา เคล้าไส้กรอก ชมบอลสดบาเยิร์นแบบฟินๆ

เชิญสัมผัสบรรยากาศสุดฟิน กับตลาดคริสต์มาสสไตล์เยอรมัน ซึ่งปีนี้ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ได้ร่วมกับมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน (Thai-German Cultural Foundation: TDKS) ร่วมส่งมอบความความสุขและความบันเทิงภายในงานคริสต์มาสแสนอบอุ่น ผสานวัฒนธรรมแบบคูลๆ ให้เข้ากับเมืองร้อน ด้วยกิจกรรมสุดพิเศษและบูธต่างๆ กว่า 50 บูธ 🍽️🥂ลิ้มรสอาหารสุดพิเศษ 🍖🍷 เพลิดเพลินไปกับเมนูตามฤดูกาล อาทิ ไวน์อุ่น คุกกี้ขนมขิง อัลมอนด์อบ หมูอบสไตล์บาวาเรีย เคบับเบอร์ลิน ไส้กรอก ขนมอบแบบเยอรมัน ไอศกรีม และเมนูอาหารในเทศกาลคริสต์มาสจากยุโรปอีกมากมาย ที่รังสรรค์โดยร้านอาหารเยอรมันและไทย ทั้งหมดนี้สามารถรับประทานและดื่มด่ำไปพร้อมกับเบียร์พอลลาเนอร์ ไวน์ หรือแอปเปิ้ลสปริตเซอร์ อันเป็นเครื่องดื่มขึ้นชื่อของเยอรมัน 🎁🎈ลุ้นรับของรางวัล🎊🎉 อีกหนึ่งไฮไลท์ของงานคือการจับฉลากของรางวัลประจำปี 2567 ด้วยของรางวัลมากมายสำหรับผู้เข้าร่วมงานทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ระลึกจากสโมสรฟุตบอล FC Bayern Munich คอร์สเรียนภาษาเยอรมันฟรี สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า และของรางวัลใหญ่คือตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-มิวนิก จำนวน 2 ที่นั่ง สนับสนุนโดยสายการบินลุฟท์ฮันซ่า 👨‍👩‍👧‍👦🥳ความสนุกสำหรับทั้งครอบครัว🕺🪇 งานนี้มีกิจกรรมหลากหลายเพื่อความเพลิดเพลินของผู้เข้าร่วมงาน ทั้งการแสดงดนตรีสดจากคณะนักร้องประสานเสียงและวงดนตรี รวมถึงกิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว ผู้เข้าร่วมงานสามารถเรียนรู้วิธีประดิษฐ์ของตกแต่งคริสต์มาสและงานฝีมือต่างๆ นอกจากนี้ยังมีไอเดียของขวัญสุดพิเศษ เครื่องประดับ บอร์ดเกม และสินค้าหัตถกรรมอื่นๆ โดยปีนี้ สำหรับคอบอลสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอล FC Bayern Munich กับ FC Heidenheim จากการสนับสนุนของ FC Bayern Munich ส่วนบูธของยาหม่องตราเสือ ก็มาพร้อมให้ความผ่อนคลายด้วยบริการนวดสั้นๆ รวมถึงทาง Audi ยังนำรถรุ่นใหม่อย่าง TT มาให้รับจัดแสดงภายในงาน 🎄🌟ต้นคริสต์มาส🎇🎅 จุดเด่นของตลาดคริสต์มาสปีนี้คือการออกแบบต้นคริสต์มาสด้วยฝีมือของศิลปินไทย คุณวิชชุลดา ปัณฑธานุวงศ์ ผ่านแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานจากขยะพลาสติก เพื่อย้ำเตือนถึงความสำคัญของความยั่งยืน และชวนตระหนักว่า สิ่งดีๆ สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งที่ดูไร้ค่า 🧑🏻‍🤝‍🧑🏽🫂ตลาดคริสต์มาสหลอมรวมวัฒนธรรม🎁🔔 ตลาดคริสต์มาสเยอรมัน เปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศเทศกาล และสัมผัสเสน่ห์ของฤดูกาลแห่งความสุขด้วยบรรยากาศที่คึกคักและอบอุ่น อีกทั้งยังเป็นพื้นที่แห่งการพบปะและหลอมรวมวัฒนธรรม ซึ่งผู้คนสามารถมารวมตัวกัน สังสรรค์และดื่มด่ำกับบรรยากาศคริสต์มาส พร้อมค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างประเทศและความเข้าใจทางวัฒนธรรมที่แตกต่างอีกด้วย … 📍

Content Project Market เปิดตลาดคอนเทนต์ไทย หมดยุคพายเรือในอ่าง

  “หนังดี มีรางวัล แต่ไม่มีคนดู” “ละครดัง มีคนดู แต่ก็วนอยู่กับที่” ปัญหาสารพัดสารเพของวงการคอนเทนต์ไทย ตลอดจนความเห็นจากหลายทิศหลายทาง จริงบ้าง มั่วบ้าง ปะปนกันไป แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งหมดนั้นทำให้ศรัทธาของชาวไทยในคอนเทนต์บ้านเกิดเสื่อมสลายไปไม่น้อย เฉพาะยิ่งในยุคสตรีมมิ่งอย่างปัจจุบัน  แต่หากว่ากันตามตรง แท้จริงแล้วคอนเทนต์ไทยในทุกวันนี้ สามารถตีกระแสต่างชาติได้ดีกว่าช่วงก่อนๆ มากนัก ทั้งยอดสตรีมมิ่ง การเข้าฉายต่างประเทศ นำส่งไปยังเทศกาลระดับนานาชาติ รวมถึงการขายลิขสิทธิ์นำไปรีเมค หลายๆ เรื่องแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคอนเทนต์ไทย อันสามารถฉายแววในเวทีโลกได้อย่างไม่เคอะเขิน ซึ่งที่ผ่านมาเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ หาช่องทางกันตามมีตามเกิด และกระจัดกระจาย จึงเป็นเหตุผลให้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) หรือ CEA จัดให้มีการจับคู่ธุรกิจ(business matching) เปิดตลาดซื้อขายคอนเทนต์เป็นครั้งแรกของประเทศในชื่อ Content Project Market ภายใต้โครงการ Content Lab 2024  โดย Content Project Market เปิดพื้นที่ให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทยได้นำเสนอผลงาน ทั้งบทภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือแอนิเมชันของตนเอง รวมไปถึงไอเดีย คอนเซ็ปต์ (Pitch Deck) ที่ยังอยู่ในขั้นพัฒนา พรีเซนต์/พิทชิ่งต่อนักธุรกิจ-นักลงทุนในแวดวงอุตสาหกรรมคอนเทนต์ และสตรีมมิงแพลตฟอร์มทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 64 บริษัท เพื่อต่อยอดผลงานสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ในตลาดคอนเทนต์ต่อไป ทั้งนี้ ยังมีหลักสูตรพัฒนาทักษะให้สอดรับกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ผ่านโครงการบ่มเพาะ (Incubation Programs) 4 โครงการ และโครงการสร้างโอกาสทางธุรกิจ 1 โครงการ ได้แก่  Content Lab: Newcomers แคมป์สำหรับคนทำหนังและซีรีส์หน้าใหม่  Content Lab: Mid-Career โครงการพัฒนาโปรเจ็กต์ภาพยนตร์และซีรีส์ สำหรับบุคลากรวิชาชีพระดับกลางในสายโปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ และนักเขียนบท  Content Lab: Animation เวิร์กช็อปพัฒนาซีรีส์โปรเจ็กต์สำหรับสายงานด้านแอนิเมชันในกลุ่ม Mid-Career และ  Content Lab: Advanced Scriptwriting เวิร์กช็อปพัฒนาการเขียนบทระดับมืออาชีพโดยวิทยากรจากไทยและต่างประเทศ โครงการดังกล่าว นับว่าเป็นครั้งแรกที่อุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยจะได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบ ทั้งองคาพยพตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อยกระดับมาตรฐานคอนเทนต์ไทยให้สามารถเจาะกลุ่มตลาดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

สรุป 10 บทเรียน ‘ลิขสิทธิ์’ ต้องรู้! จากช่วงเสวนางาน GeneLabCon

GeneLabCon นอกจากจะเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ประจำปีของค่าย GeneLab แล้ว งานนี้ยังมีช่วง Hard Talk ที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดนตรี โดยช่วงเสวนาทั้งสองวัน มีการแบ่งหัวข้อดังนี้ วันแรกหัวข้อหลักคือเรื่อง “ลิขสิทธิ์เพลงเป็นของใคร?” ส่วนหัวข้อหลักวันที่สองคือ “ค่ายเพลงยังจำเป็นอยู่ไหม?” ทั้งนี้ เนื่องจากสองหัวข้อดังกล่าวมีเนื้อหาบางส่วนที่คาบเกี่ยวกัน เราจึงขอสรุปรวมประเด็นทั้งสองวันเลยแล้วกัน 1. ลิขสิทธิ์ = ทรัพย์สิน ในยุคนี้ แม้ซีดีอาจไม่ได้ขายเป็นกอบเป็นกำเหมือนสมัยก่อน แต่ข้อดีของสตรีมมิ่งก็คือ มีการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบมากขึ้นผ่านองค์กรตัวแทนต่างๆ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถนำ return มาสู่ผู้สร้างสรรค์ได้เรื่อยๆ เป็นทรัพย์สินที่สร้าง passive income และความมั่นคงในระยะยาวแก่นักแต่งเพลงได้ เพื่อไม่ให้ผู้ผลิตผลงานจำต้องปล่อยเงินหลุดมือ เหตุเพราะเสียรู้เรื่องกฎหมายอีกต่อไป ในส่วนของแฟนคลับ เพียงสนับสนุนผลงานของศิลปินที่รักผ่านช่องทาง official แค่นี้ก็เป็นแฟนด้อมที่น่ารักแล้ว 2. เกณฑ์มาตรฐาน กี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะแฟร์? ​ เรื่องนี้คงต้องกล่าวว่า แม้แต่ระดับโลกก็ไม่มีสัดส่วนตายตัว ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ใครทุ่มกำลังเยอะก็ควรได้เยอะ แต่คนที่ได้น้อยกว่าก็อย่าให้น้อยจนเกินไป แต่ในเบื้องต้น สำหรับศิลปิน/นักแต่งเพลง การเซ็นสัญญา ทำข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ ทุกฝ่ายบนโต๊ะเจรจาต้องรู้เท่ากัน แต่การตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนตัว การเซ็นสัญญามันคือดีล ถ้าสมประโยชน์กัน ตกลงกันได้ก็จบ ต่อให้ตัวลิขสิทธิ์เป็นของค่ายก็ตามที เพราะบางคนทำเอง โปรโมทเอง จัดเก็บเอง อาจจะได้น้อยกว่ายกให้ค่ายจัดการด้วยซ้ำ นานาจิตตัง (เรื่องการเซ็นสัญญาศิลปิน เดี๋ยวค่อยว่ากันยาวๆ ครึ่งหลัง) ในปัจจุบันนี้ มีการพยายามผลักดันให้นักแต่งเพลง ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 15 % แต่ก็นั่นแหละ เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย เฉพาะยิ่งในบริบทสังคมไทย ซึ่งยังไม่มี ‘สหภาพนักดนตรี’ เป็นกลุ่มก้อน ที่รวมตัวกันเพื่อผลักดันเรียกร้องให้มี ‘มาตรฐานกลาง’ ในเรื่องนี้ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับกฎหมายภาครัฐ และนโยบายเอกชนหลายฝ่าย จึงต้องใช้ความร่วมมือกันระดับมหภาคทีเดียว 3. จ้างศิลปินไปเล่น ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์อีก? หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่จ้างศิลปินไปเล่น นอกจากต้องจ่ายค่าจ้างแล้ว ค่าลิขสิทธิ์ก็ต้องจ่ายด้วยเหมือนกัน และที่สำคัญ ในกรณีที่ค่ายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวศิลปินเองก็ต้องขออนุญาตค่ายก่อนใช้เพลงทุกครั้ง แม้จะเป็นเพลงที่เขียนเอง/ทำเองก็เถอะ คือค่ายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อค่ายได้ค่าจัดเก็บลิขสิทธิ์มาแล้ว ก็จะนำมาแจกจ่ายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเงินก็จะวนมาถึงศิลปินเอง เพราะว่าเพลงมันคืองานกลุ่มอะเนอะ ทางที่ดีจึงควรได้กันอย่างทั่วถึงทุกฝ่าย แต่เวลาจ้างศิลปินไปเล่น เงินส่วนนี้มักจะรวมมากับค่าจ้างแล้ว

นับถอยหลังสู่ประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต จากวิถีศรัทธาแห่งชุมชน สู่เทศกาลที่นักเดินทางทั่วโลกต้องมาสัมผัส

เตรียมตัวให้พร้อม! เพราะใกล้เข้ามาแล้วสำหรับเทศกาลไฮไลท์ประจำปีของเมืองภูเก็ต “ประเพณีถือศีลกินผัก” ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ หนึ่งในประเพณีสำคัญที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น วัฒนธรรม วิถีชีวิต ตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นเมืองเทศกาลของภูเก็ต ซึ่งมีวัฒนธรรมอันรุ่มรวย พร้อมด้วยระบบบริหารจัดการที่เพียบพร้อม เตรียมต่อยอดสู่การเป็นแลนด์มาร์คระดับโลก  จากเมืองเล็กๆ ที่หลอมรวมผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมประเพณี พร้อมด้วยมาตรฐานการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแก่งานเทศกาล สู่การยกระดับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ให้เป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องลองมาสัมผัสสักครั้ง เรียกว่าเป็นการขับเคลื่อนศักยภาพเมืองภูเก็ตในรูปแบบ more local, more global อย่างแท้จริง ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท โครงสร้างพื้นฐาน หรือระบบคมนาคมซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนต่างๆ พร้อมรองรับผู้เข้าร่วมงาน หรือนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากทั่วโลก ทั้งนี้ “ประเพณีถือศีลกินผัก” นับว่าสะท้อนเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากปัจจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่ประกอบสร้างภาพจำเมืองภูเก็ต ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ และแสดงให้เห็นถึงวิถีชุมชนอันแตกต่าง หากแต่สอดประสานและอยู่รวมกันเป็นหนึ่ง กระทั่งกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนภาพแห่งสังคมพหุวัฒนธรรมประจำเมืองภูเก็ต จนกล่าวได้ว่า “ภูเก็ตคือเมืองเทศกาลที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรม” Diversity of Phuket, Diversity of Thailand   ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถือว่าเป็นหนึ่งในมนต์เสน่ห์แห่งภูเก็ต ซึ่งผสานความแตกต่างเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว และหากกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว เมืองภูเก็ตแห่งนี้ก็สะท้อนแก่นแท้ความเป็นไทยในภาพรวมได้อย่างลุ่มลึก เพราะคอนเซ็ปต์ของความเป็นไทยคงมิใช่อะไรอื่น นอกเสียจากการหลอมรวมความแตกต่างหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน และเมืองภูเก็ตเองก็ผนวกความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นถิ่นและนำเสนอออกมาได้อย่างน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมไทยแบบศาสนาพุทธ หรือวัฒนธรรมชาวมลายูแบบมุสลิม ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีบทบาทสำคัญในสังคม ทั้งวัฒนธรรม อาหาร วิถีชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน หนึ่งในเอกลักษณ์ของภูเก็ต ซึ่งผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมจีน มาเลเซีย และอิทธิพลทางยุโรปจากโปรตุเกส ดัตช์และอังกฤษ อันสามารถพบเห็นได้ตามย่านเมืองเก่า  โดยเฉพาะยิ่งวัฒนธรรมของชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตมากขึ้น ณ ช่วงที่ทางการส่งเสริมให้ทำเหมืองแร่ดีบุก ชาวจีนฮกเกี้ยนจึงถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ส่งผลให้สถานะทางเศรษฐกิจของเมืองภูเก็ตรุ่งเรืองขึ้นจนเป็นหัวเมืองใหญ่แห่งหนึ่งในภูมิภาค และอิทธิพลดังกล่าวยังส่งผลต่อศิลปวัฒนธรรมเมืองภูเก็ตในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร, สถาปัตยกรรม, ความเชื่อ, รวมถึงวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ เมืองภูเก็ตจึงกลายเป็นเมืองเทศกาลระดับโลก ซึ่งโอบรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านการจัดงานประเพณีต่างๆ ตลอดทั้งปี อาทิ ประเพณีลอยเรือ งานแข่งขันเรือใบ เทศกาลอาหารทะเล ลอยกระทง เทศกาลผ้อต่อ และไฮไลท์สำคัญของทุกปีที่หลายคนรอคอยนั้นก็คือ “ประเพณีถือศีลกินผัก” ถือศีลกินผัก เอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร “ประเพณีถือศีลกินผัก ช่วงแห่งการรักษากายใจให้บริสุทธิ์ ผ่านพิธีกรรมและความศรัทธา” เป็นประเพณีความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดมาจากชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกปี โดยมีวิถีปฏิบัติทั่วไปคืองดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์