ไทย = ศูนย์กลางโรงเรียนนานาชาติในอาเซียน?
แม้เด็กไทยจะเกิดน้อยลง ทำให้จำนวนนักเรียนไทยลดน้อยลงและโรงเรียนหลักสูตรไทยกำลังทยอยปิดตัว แต่จำนวนนักเรียนต่างชาติและจำนวนโรงเรียนนานาชาติกลับเพิ่มมากขึ้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยให้เห็นว่า ในปีการศึกษา 2555-2567 ที่ผ่านมา โรงเรียนรัฐบาลและเอกชนหลักสูตรไทยทยอยปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยโรงเรียนรัฐบาลมีจำนวนลดลงเฉลี่ย 0.6% ต่อปี ส่วนโรงเรียนเอกชนมีจำนวนลดลงเฉลี่ย 0.7% ต่อปี อีกทั้ง ในปี 2568 จำนวนนักเรียนไทย ทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนยังมีแนวโน้มลดลง 1.1%-1.2% ซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากวิกฤตเด็กเกิดใหม่ของไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทว่า โรงเรียนนานาชาติ กลับเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 5.0% ต่อปี โดยในปี 2568 ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติจะยังคงเติบโต 9.7% แม้จะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัว 13.1% เนื่องจาก จำนวนโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่ในปีนี้มีเพียง 8 โรงเรียน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่ในปี 2567 ที่มีถึง 13 โรงเรียน นอกจากนี้ โรงเรียนนานาชาติยังมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นถึง 8.3% ทำให้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 นี้ ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติอาจทำรายได้สูงถึง 9.5 หมื่นล้าน ส่อง 3 ปัจจัยส่งโรงเรียนนานาชาติโต ปัจจัยที่ 1 : โรงเรียนนานาชาติกลายเป็นแลนด์มาร์ค ในปัจจุบัน มีจำนวนชาวจีนที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2564 – 2567 มีชาวจีนตำแหน่งสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20.8% ต่อปี ทำให้มีนักเรียนจีนที่ติดตามผู้ปกครองมาอยู่ในไทยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียน นานาชาติ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ปกครองชาวจีนตัดสินใจเลือกโรงเรียนนานาชาติในไทยให้แก่บุตรหลานของตนเอง โดยขณะนี้ค่าใช้จ่ายในการเรียนหลักสูตรนานาชาติในจีนสูงขึ้น เนื่องจาก รัฐบาลจีนปรับนโยบายส่งเสริมการใช้ภาษาจีนกลาง ประกอบกับ จากผลสำรวจ พบว่า ในภูมิภาคเอเชีย โรงเรียนนานาชาติในกรุงเทพเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจมากที่สุดสำหรับผู้ปกครองชาวจีน เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และยังคงคุณภาพไว้ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเพียง 448,171 บาทต่อปี ในขณะที่ โรงเรียนนานาชาติต่อปีในเมืองอื่นค่อนข้างสูง โดยปักกิ่ง เป็นเมืองที่ค่าใช้จ่ายในโรงเรียนนานาชาติสูงที่สุดถึง 1,241,230 บาท รองลงมา คือ สิงคโปร์ 748,334 บาท, โซล 728,619