Skip links

Talk

สรุป 10 บทเรียน ‘ลิขสิทธิ์’ ต้องรู้! จากช่วงเสวนางาน GeneLabCon

GeneLabCon นอกจากจะเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ประจำปีของค่าย GeneLab แล้ว งานนี้ยังมีช่วง Hard Talk ที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดนตรี โดยช่วงเสวนาทั้งสองวัน มีการแบ่งหัวข้อดังนี้ วันแรกหัวข้อหลักคือเรื่อง “ลิขสิทธิ์เพลงเป็นของใคร?” ส่วนหัวข้อหลักวันที่สองคือ “ค่ายเพลงยังจำเป็นอยู่ไหม?” ทั้งนี้ เนื่องจากสองหัวข้อดังกล่าวมีเนื้อหาบางส่วนที่คาบเกี่ยวกัน เราจึงขอสรุปรวมประเด็นทั้งสองวันเลยแล้วกัน 1. ลิขสิทธิ์ = ทรัพย์สิน ในยุคนี้ แม้ซีดีอาจไม่ได้ขายเป็นกอบเป็นกำเหมือนสมัยก่อน แต่ข้อดีของสตรีมมิ่งก็คือ มีการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบมากขึ้นผ่านองค์กรตัวแทนต่างๆ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถนำ return มาสู่ผู้สร้างสรรค์ได้เรื่อยๆ เป็นทรัพย์สินที่สร้าง passive income และความมั่นคงในระยะยาวแก่นักแต่งเพลงได้ เพื่อไม่ให้ผู้ผลิตผลงานจำต้องปล่อยเงินหลุดมือ เหตุเพราะเสียรู้เรื่องกฎหมายอีกต่อไป ในส่วนของแฟนคลับ เพียงสนับสนุนผลงานของศิลปินที่รักผ่านช่องทาง official แค่นี้ก็เป็นแฟนด้อมที่น่ารักแล้ว 2. เกณฑ์มาตรฐาน กี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะแฟร์? ​ เรื่องนี้คงต้องกล่าวว่า แม้แต่ระดับโลกก็ไม่มีสัดส่วนตายตัว ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ใครทุ่มกำลังเยอะก็ควรได้เยอะ แต่คนที่ได้น้อยกว่าก็อย่าให้น้อยจนเกินไป แต่ในเบื้องต้น สำหรับศิลปิน/นักแต่งเพลง การเซ็นสัญญา ทำข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ ทุกฝ่ายบนโต๊ะเจรจาต้องรู้เท่ากัน แต่การตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนตัว การเซ็นสัญญามันคือดีล ถ้าสมประโยชน์กัน ตกลงกันได้ก็จบ ต่อให้ตัวลิขสิทธิ์เป็นของค่ายก็ตามที เพราะบางคนทำเอง โปรโมทเอง จัดเก็บเอง อาจจะได้น้อยกว่ายกให้ค่ายจัดการด้วยซ้ำ นานาจิตตัง (เรื่องการเซ็นสัญญาศิลปิน เดี๋ยวค่อยว่ากันยาวๆ ครึ่งหลัง) ในปัจจุบันนี้ มีการพยายามผลักดันให้นักแต่งเพลง ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 15 % แต่ก็นั่นแหละ เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย เฉพาะยิ่งในบริบทสังคมไทย ซึ่งยังไม่มี ‘สหภาพนักดนตรี’ เป็นกลุ่มก้อน ที่รวมตัวกันเพื่อผลักดันเรียกร้องให้มี ‘มาตรฐานกลาง’ ในเรื่องนี้ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับกฎหมายภาครัฐ และนโยบายเอกชนหลายฝ่าย จึงต้องใช้ความร่วมมือกันระดับมหภาคทีเดียว 3. จ้างศิลปินไปเล่น ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์อีก? หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่จ้างศิลปินไปเล่น นอกจากต้องจ่ายค่าจ้างแล้ว ค่าลิขสิทธิ์ก็ต้องจ่ายด้วยเหมือนกัน และที่สำคัญ ในกรณีที่ค่ายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวศิลปินเองก็ต้องขออนุญาตค่ายก่อนใช้เพลงทุกครั้ง แม้จะเป็นเพลงที่เขียนเอง/ทำเองก็เถอะ คือค่ายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อค่ายได้ค่าจัดเก็บลิขสิทธิ์มาแล้ว ก็จะนำมาแจกจ่ายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเงินก็จะวนมาถึงศิลปินเอง เพราะว่าเพลงมันคืองานกลุ่มอะเนอะ ทางที่ดีจึงควรได้กันอย่างทั่วถึงทุกฝ่าย แต่เวลาจ้างศิลปินไปเล่น เงินส่วนนี้มักจะรวมมากับค่าจ้างแล้ว

นายกฯ – ไทย – กวนตีน…คุยกับนายกสมาคมบอร์ดเกม เรื่องความกวนตีนของคนไทย พี่วัฒน์-วัฒนชัย ตรีเดชา

ครีเอทีฟ, ยูทูบเบอร์รุ่นแรก, นักแสดง, ผู้ผลิตและรีวิวบอร์ดเกม, นายกสมาคมบอร์ดเกมประเทศไทย และอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกม ทั้งหมดนี้คือตำแหน่งของ “พี่วัฒน์-วัฒนชัย ตรีเดชา” ชายหน้าหนวดที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตาผ่านงานต่างๆ แต่หากจะนิยาม ‘ตัวตนของพี่วัฒน์’ ภายในคำเดียว คงหนีไม่พ้นคำสั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความ นั่นก็คือ… “คนกวนตีน” ชีวิตวันนี้ พี่วัฒน์เป็นชายวัยกลางคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งถูกใช้เป็นออฟฟิศขนาดย่อมๆ พนักงานมีไม่มาก แต่มีอุปกรณ์ทำมาหากินวางกระจายอยู่ทั่วทุกซอกมุม พร้อมด้วยลูกหมาพึ่งคลอดอีก 12 ตัว ซึ่งกำลังประกาศหาบ้าน แต่เรื่องสำคัญที่ทำให้เราต้องเดินทางมาหาแกถึงที่ เนื่องจาก ‘คนกวนตีน’ คนนี้ กำลังเป็นหัวหอกแห่งการพัฒนาวงการบอร์ดเกมไทย ทั้งการขับเคลื่อนให้มีโครงสร้างต่างๆ และการสื่อสารกับภายนอก พร้อมทั้งใช้ ‘ความกวนตีน’ ที่คนไทยเรามีกันอยู่นี่เอง ขับเคลื่อน Soft Power ไทยสู่ระดับสากลใช่แล้ว อ่านไม่ผิด ‘ความกวนตีน’ นี่แหละ ที่จะเป็น ‘Soft Power’ ของไทย อันหาไม่ได้จากที่อื่น จากที่เคยต่อต้าน แต่สุดท้ายก็เข้าร่วม ก่อนจะไปว่ากันด้วยเรื่องความกวนตีน ต้องขอย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน  เดิมทีพี่วัฒน์ไม่ได้สนใจบอร์ดเกมแต่อย่างใด หนำซ้ำยังมองวงการนี้ด้วยอารมณ์แอนตี้ปนบูลลี่นิดๆ เสียด้วยซ้ำ “ไอพวกนี้แม่งเด็กเนิร์ด…กูไปทำอย่างอื่นดีกว่า” จากนั้นต่อมา ขณะที่พี่วัฒน์ยังทำงานเป็นครีเอทีฟรายการโทรทัศน์อยู่ เมื่อถึงช่วงพักกองซึ่งกินเวลานานมาก ระหว่างรอ ปรากฏว่ามีคนนำบอร์ดเกมสามก๊กมาเล่น “ไอพวกนี้เอาอีกแล้ว เล่นในเวลางานอีกแล้ว”(.ส่ายหัว) กระนั้นก็ตาม หลังจากพี่วัฒน์ยืนดูอยู่ครู่หนึ่งจึงได้พบว่า “เชี่ยย แม่งโคตรหนุกเลย” “ลองเล่นดูดีกว่าเว้ย” ผนวกกับช่วงนั้นโซเชียลมีเดียกำลังมาแรง และเริ่มเข้ามาแย่งเวลาการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ตรงหน้ามากขึ้น ประสบการณ์ในครั้งนั้นทำให้พี่วัฒน์มีความคิดขึ้นมาว่า “กิจกรรมนี้มันต้องถูกผลักดัน” “พี่ก็เลยเอาการเล่นบอร์ดเกมมาถ่ายเป็นรายการ เลยเกิดเป็น Board Game Night ขึ้น” และในจุดนี้เองที่ทำให้พี่วัฒน์พบว่า กิจกรรมนี้ ใช่แค่สร้างความบันเทิงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะเมื่อเข้ามาคลุกคลีกับวงการนี้มากขึ้น ก็ยิ่งเห็นถึงสาระที่ซ่อนอยู่ในความบันเทิง “อย่างเกม salem (ล่าแม่มด) มันก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเราอาจจะเคยดูในหนัง แต่ทีนี้เราไม่ใช่แค่ผู้รับสารอย่างเดียว เราได้เป็นทั้งผู้เล่น ได้สื่อสารใน action นั้นๆ ด้วย” “หรือถ้าประโยชน์กับครอบครัว มันไม่ค่อยมีกิจกรรมไหนที่พ่อแม่ลูก สามารถเล่นร่วมกันได้

เปิดที่มา “สยามเมืองยิ้ม” หรือ “Thailand, The Land of Smile” ภาษิตประจำใจที่คนไทยใช้โฆษณาตัวเองมากว่าค่อนศตวรรษ ไฉนกำเนิดขึ้นจากยุคเผด็จการที่เผชิญหน้ากับกระแสคลื่นแห่งการเมืองโลก?

ที่มาของคำว่า “ยิ้มสยาม” หรือ “สยามเมืองยิ้ม” (ไม่ว่าจะใช้คำไหนก็ตาม) ไม่ปรากฎเป็นที่แน่ชัดว่าเริ่มต้นมาแต่เมื่อใด หรือว่าใครเป็นผู้บัญญัติ แต่สำหรับประเด็นนี้ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เคยเขียนถึงไว้ในบทความ “ยิ้มสยามคือยิ้มให้ใคร? เรายิ้มอย่างไทยหรือยิ้มเพื่ออะไรกันแน่?” ซึ่งเผยใน The Matter เมื่อปี 2559 โดยสรุปความได้ว่า หลังจากยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลไทยขณะนั้นเลือกเข้าข้าง “ฝรั่ง” มากกว่า ทำให้มีชาวตะวันตกเข้ามายังประเทศไทยเยอะขึ้น และเป็นพวกฝรั่งนั่นเองที่เรียกเราว่า “สยามเมืองยิ้ม”   ทั้งนี้ ศิริพจน์ ยังเพิ่มเติมอีกว่า ผู้ที่ถูกอ้างถึงบ่อยๆ ในสมมุติฐานนี้คือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ผู้เคยอธิบายเรื่อง “สยามเมืองยิ้ม” ไว้ที่คอลัมน์ประจำของตน ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐว่า เนื่องเพราะคนไทยไม่สามารถโต้ตอบฝรั่งได้ด้วยภาษาอังกฤษ ทำได้เพียงยิ้มแห้งๆ แบบไปต่อไม่ถูก พวกฝรั่งตาน้ำข้าวก็ไม่เข้าใจว่า …พวกยูยิ้มให้ไอทำไม? จึงทำให้ฝรั่งเรียกอาการดังกล่าวว่า “ยิ้มสยาม” สมมุติฐานข้างต้นนี้แม้จะมีมูลอยู่บ้าง ทว่าจะจริงแท้แค่ไหนก็มิอาจทราบได้ เพราะฝรั่งในยุคกระโน้นคงไม่เหลืออยู่ให้ซักถามเสียแล้วกระมัง   อย่างไรก็ดี คำว่า “สยามเมืองยิ้ม” หรือ “ยิ้มสยาม” ปรากฏพบว่าถูกใช้เพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวไทยครั้งแรกในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้นำเผด็จการในยุค พ.ศ. 2500 ต้นๆ โดยในประเด็นนี้ ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต นักวิจัยอิสระระบุว่า หลังจากที่ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 อันส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนและการท่องเที่ยวจากต่างชาติ และเพื่อให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าว จึงทำให้คำว่า “สยามเมืองยิ้ม” หรือ “ยิ้มสยาม” ถูกใช้เพื่อโปรโมทการท่องเที่ยว โดยมีการใช้ อนุสาร อ.ส.ท. ซึ่งเป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นพร้อมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท.) เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้คนไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย “รอยยิ้ม” ที่ดูเป็นมิตรเข้าถึงง่าย สร้างความรู้สึกปลอดภัย ยินดีพร้อมให้บริการ เฉพาะยิ่งกับ “ชาวอเมริกัน” เนื่องเพราะวิสัยทัศน์ของ

เอะอะก็ซอฟต์ พาวเวอร์!

พอได้เห็นนโยบายของท่าน รมว.กระทรวงวัฒนธรรมที่ประกาศออกมาหมาดๆ ผ่านสื่อโซเชียล หลายคนอาจเผลออุทาน WTF! (Welcome to Facebook) ออกมาโดยไม่ตั้งใจ  นโยบาย “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์” แก้จน-กระตุ้นเศรษฐกิจ มันคืออะไรกันแน่? แค่อ่านผ่านๆ ก็ไม่เข้าใจซะด้วย ในโซเชียลก็คอมเมนต์กันว้าวุ่นเลยทีนี้ ร้อนถึงท่าน เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมต้องออกมาขยายความเพิ่มเติมผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย พอจะจับใจความได้ดังนี้ นโยบาย “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์” นั้นตั้งใจจะต่อยอดจากโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่ถือเป็นหนึ่งในนโยบายซิกเนเจอร์ของทางพรรคเพื่อไทยในอดีต แต่ในครั้งนี้ จะเป็นการเฟ้นหาคนที่มีความสามารถแต่ขาดต้นทุนจำนวน 20 ล้านคน มาพัฒนาสกิล เพิ่มทักษะโปรโมทเป็นรายครอบครัว ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักก็คือครอบครัวที่มีรายได้รวมต่ำกว่า 20,000 บาท/เดือน โดยทางกระทรวงวัฒนธรรมจะร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกครอบครัวที่ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนทั้งด้านการพัฒนาความรู้ และต้นทุน เพื่อให้ประชาชนสร้างรายในการประกอบอาชีพต่อไป…  แม้จะได้รับการขยายความจากท่านเสริมศักดิ์แล้ว หลายคนก็ยังไม่เก็ตอยู่ดีว่าการตีความและนำคำว่า “ซอฟต์ พาวเวอร์” มาใช้ ในมุมมองของคน 20 ล้านคนมันจะตรงตามกรอบนโยบายที่กระทรวงวัฒนธรรมตั้งไว้หรือเปล่า … ท่ามกลางความว้าวุ่นนี้ The Attraction ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ “สาธิต กาลวันตวานิช” (ผู้ร่วมก่อตั้ง “ฟีโนมีนา” โปรดักชั่นเฮ้าส์แถวหน้าของประเทศไทย และยังเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Propaganda กับผลิตภัณฑ์มิสเตอร์พี MR.P ที่ใส่ความกวน ตลกปนทะลึ่งแบบไทยๆ ไว้ในผลงานจนเป็นที่ถูกใจตลาดโลก) เกี่ยวกับประเด็นซอฟต์ พาวเวอร์ที่อาจจะถูกเอามาใช้กันแบบพร่ำเพรื่อเกินพอดีในปัจจุบัน … Q : มีความคิดเห็นอย่างไรกับคำว่า “ซอฟต์ พาวเวอร์”  A : ผมได้ยินครั้งแรกน่าจะเกือบสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมโฆษณาไทย ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 30-40 ปีก่อนยังไม่ได้เติบโตและได้รับการยอมรับในระดับสากลเหมือนปัจจุบัน เรียกได้ว่าไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสกับเวทีระดับโลกอย่างเทศกาลเมืองคานส์ และอื่นๆ เลย เอาแค่โอกาสจะได้รางวัลเหรียญบรอนซ์ก็ยังเกินเอื้อมเลย จนกระทั่ง เราฉีกจากกรอบเดิมใช้ผู้กำกับหนังโฆษณาที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนและไม่ได้ผ่านการหล่อหลอมจากวงการมาก่อน กลายเป็นความแปลกใหม่ที่สร้างชื่อให้โฆษณาไทยจนงานโฆษณาแบบไทยๆ ไทยกลายเป็นที่จับตาของคนทั้งโลก  https://www.youtube.com/watch?v=_Kmh4BbJPz8 Q : เรียกได้ว่าสร้างอิทธิพลและเทรนด์โฆษณาในระดับโลกได้เลย A : ใช่ครับ ใครจะไปคิดว่ายุโรปยังเลียนแบบแนวทางโฆษณาและอารมณ์ขันแบบไทย ใครจะคิดว่ายุโรป หรืออเมริกาใต้ที่ครองบัลลังก์โฆษณาระดับโลกจะหันมามองโฆษณาบ้านเราและตั้งข้อสงสัยว่า “เอ๊ะ ! มันเกิดอะไรขึ้นในเอเชีย” เพราะสิ่งที่วงการโฆษณาไทยนั้นนำเสนอมันส่งผลให้ต่างประเทศหันมาลองทำตาม จนกลายเป็น “เทรนด์ เซ็ตเตอร์” ของโลก จนถึงวันนี้หลายๆ คนเริ่มรู้จักคำว่า “ซอฟต์ พาวเวอร์” กันมากขึ้นแล้วซึ่งผมไม่อยากให้ทุกคนหลงกับคำว่า “ซอฟต์ พาวเวอร์” แต่อยากให้สนใจกับเนื้อหาสาระสำคัญที่ว่าเรามีความทะเยอทะยาน

“หอมกลิ่นความรัก” ซีรีส์วายพีเรียดย้อนยุค ย้ำคุณภาพไทยแลนด์คือเบอร์ 1 จักรวาลซีรีส์ BL

จากวันแรกที่มีการเปิดตัว  Love Sick The Series ในปี 2014 ที่ตีคู่กันมากับซีรีส์ ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น ในปี 2013-2015 ก็เป็นเหมือนการกรุยทางสู่จักรวาลความยิ่งใหญ่ของซีรีส์วายไทย ที่เปิดตัวนักแสดงคู่จิ้นหลายคู่สู่สายตาแฟนๆ สร้างชื่อเสียงและจุดกระแสซอฟต์พาวเวอร์ซีรีส์ BL ไทย จนมีแฟนคลับขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลกในปัจจุบัน ย้อนไป 3 ปี จำนวนซีรีส์วายไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2020 มีซีรีส์วายออกฉายมากกว่า 24 เรื่อง ปี 2021 ก็เพิ่มเป็นจำนวนกว่า 47 เรื่อง และล่าสุดในปี 2022 ที่มีซีรีส์วายออกมาให้ได้ชมกันกว่า 70 เรื่องเลยทีเดียว โดยก้าวสำคัญก็คือการที่ GMM TV เข้ามาลุยธุรกิจนี้อย่างเต็มตัว เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นพัฒนาการของคอนเทนต์วายในประเทศไทย ทั้งหนังและซีรีส์ที่ออกสู่สายตาผู้ชมในวงกว้าง ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างการยอมรับความหลากหลายทางเพศ เนื้อหาที่สร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาได้อย่างเข้าถึงอารมณ์ กลายมาเป็นเอกลักษณ์ของซีรีส์วายไทย ที่หาชมไม่ได้ในประเทศอื่น แม้ว่า “ซีรีส์วาย” จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่แข็งแกร่งของประเทศ สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้อันมหาศาล แต่เราก็ยังไม่เห็นแนวทางหรือนโยบายที่สนับสนุนอุตสาหกรรมซีรีส์วายไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างชัดเจนเท่าไรนัก… The Attraction ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ตี๋-บัณฑิต สินธนภารดี ผู้กำกับซีรีส์วายจากค่าย Dee Hup House ที่สร้างผลงานคุณภาพอย่าง TharnType the Series เกลียดนักมาเป็นที่รักกันซะดีๆ (ภาค 1), นับสิบจะจูบ Lovely Writer, ผมกับผีในห้อง Something in My Room, ค่อยๆ รัก Step by Step และล่าสุดเรื่อง หอมกลิ่นความรัก ที่กำลังออนแอร์ให้แฟนๆ ได้รับชมอยู่ในขณะนี้ ตี๋ได้พูดถึงภาพรวมของอุตสาหกรรม BL ไทยว่ามีแนวโน้มในการการเติบโตที่สูงมาก มีหลายค่ายละครที่หันมาผลิตละครแนวนี้และสามารถผลักดันอุตสาหกรรมไปอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จในสายตาชาวโลก แม้ว่าคอนเทนต์วายอาจจะยังไม่ได้แมสเท่ากับละครอื่นทั่วไป แต่ก็ถือว่าก็ยังอยู่ในจุดที่ดี เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่มีหลายส่วนเริ่มเข้ามาร่วมมือกันทำงานมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ค่ายละครสายวายในไทยนั้นมีหลายสิบค่าย ในแต่ละปีประเทศไทยจะสามารถส่งคอนเทนต์ BL ได้ไม่ต่ำกว่า 100 เรื่อง

ยิ่งกว่า​ Soft Power พิธาออกรายการสรยุทธ ดันแฮชแท็ก #สุราก้าวหน้า ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์

ทำเอาชาวเน็ตบนโลกโซเชียลต่างติดแฮชแท็กผลักดัน​ #สุราก้าวหน้า​ จนขึ้นเทรนด์​ทวิตเตอร์​อันดับหนึ่งของวันนี้​ หลัง​ “พิธา” สร้างปรากฎการณ์​เหล้าสังเวียนของชาวสุพรรณ​ sold out ภายในวันเดียว​.สุราก้าวหน้า ถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่ทางพรรคก้าวไกลพยายามผลักดันผ่านสื่อต่างๆ มาตลอด เป้าหมายที่ตั้งไว้คือการทลายทุนผูกขาดโดยการแก้กฎหมายให้ประชาชนทั่วไปสามารถพัฒนาสุราให้มีความหลากหลาย ต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพ โดยไม่ต้องฝ่าอุปสรรคด้านเงินลงทุนที่สูงเกินไปแบบในปัจจุบัน.โดยพิธาได้ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่มีความหลากหลายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 4 หมื่นกว่าแบรนด์ ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียงเจ้าใหญ่ๆ เพียง 7 รายเท่านั้นที่ครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ในประเทศ.ซึ่งสุราของไทยในตอนนี้ หลายตัวนั้นผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบและส่วนผสมที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นจากท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ทำให้มีรสชาติที่แตกต่าง บางตัวถูกปรับปรุงพัฒนาจนสามารถคว้ารางวัลได้ในระดับนานาชาติ
Tags

โดนัทยังมีรู๊ววว! T-POP กลิ่นอายลูกทุ่งไทย บันเทิงไกลเข้าหูแฟนคลับระดับสากล

ส่องความแรงเพลง “Stand by หล่อ” จากวงนิวคันทรี่ ที่หลอนหูคนเล่นติ๊กต่อกมาหลายเดือน ทั้งยังสร้างกระแสไวรัลด้วยท่าเต้นกวักมือ “อะมาสิมาล๊าลาลันหล่า” ที่เข้ามาฝังแน่นในสมองและสองตา ทั้งที่แค่เปิดฟังผ่านๆ ไม่ถึงนาที สมาชิกวง New Country มาจากรายการ “ลูกทุ่งไอดอล” ที่ออกอากาศทางช่อง 7HD เป็นรายการเรียลิตี้ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง เพื่อค้นหาศิลปินหน้าใหม่ของวงการ แม้รายการจะมีการจัดประกวดแข่งขันมาหลายปี แต่ก็ยังไม่มีดาวรุ่งคนไหนที่สามารถแจ้งเกิดสู่วงการลูกทุ่งได้อย่างเต็มตัวสักที สมาชิกวง New Country (เอ็มโบ, ติณติณ, กีตาร์ และนุ) ก๊อต-จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ เจ้าของฉายา “เจ้าชายลูกทุ่ง” เองนั้นมีโอกาสได้เป็นพิธีกรดำเนินรายการลูกทุ่งไอดอลในซีซั่น 2-3 นั้น มองเห็นความสามารถของน้องๆ ที่เข้าแข่งขัน จึงได้พยายามผลักดันโปรเจกต์ New Country ขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆ เหล่านี้ มีเวทีได้เฉิดฉาย ให้ได้แสดงศักยภาพที่มีอย่างเต็มความสามารถ โปรเจกต์นิวคันทรี่นี้ ผ่านการระดมความคิดและได้รับการเจียระไนอย่างใกล้ชิดจาก “เจ้าชายลูกทุ่ง” ที่คร่ำหวอดในวงการนี้มาเกือบทั้งชีวิต ทำให้สามารถถ่ายทอดมนต์เสน่ห์ของความเป็นลูกทุ่ง ผสานเข้ากับแนวเพลง T-POP ได้ออกมาอย่างมีเอกลักษณ์ ที่เห็นได้ชัดก็คือลูกเอื้อนและลูกคอที่ใส่เข้ามาสร้างความละมุนให้แก่เนื้อร้องของเพลง ประกอบกับการออกเสียงอักขระที่ชัดเจน ผลักดันให้ผลงานเพลง “สแตนด์บายหล่อ” ได้รับความนิยมไม่ใช่แค่ภายในประเทศ แต่แฟนเพลงต่างชาติก็มาคอมเมนต์ชื่นชมใต้คลิปอยู่ไม่น้อย ตัวอย่างคอมเมนต์ต่างชาติ Desde hace una semana que estoy con esta canción en bucle y no puedo sacarmela de la cabeza, me gusta mucho “ฉันเล่นเพลงนี้วนลูปไปมาเป็นอาทิตย์แล้ว ไม่สามารถเอาทำนองเพลงนี้ออกจากหัวได้เลย” Saber que la conocí por TikTok gracias a los actores Thai del BL la canción es muy adictiva mucho éxito “เจอเพลงนี้ใน TikTok
Tags

น่ากินหรือน่ากลัว เปิดตัว 5 เมนูโหด อร่อยโพดโพด ต้องลอง (มั้ย) ?!

1.ตัวไรวะ ราเมน สัตว์ทะเลน้ำลึกอะไรสักอย่างที่ถูกนำมาโปะบนชามราเมนนี้เป็นเมนูพิเศษจากประเทศไต้หวัน สนนราคาความอร่อยอยู่ที่ 1,480 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 1,700 บาท หลังจากทำการสืบค้นจนทราบชื่อวัตถุดิบ สิ่งนี้ก็คือ Giant Isopod หรือแมลงสาบทะเลยักษ์นั่นเอง รีวิวจากผู้ที่ได้ชิมแล้วบอกว่ารสชาติไม่ได้แย่เหมือนหน้าตา รสสัมผัสนั้นใกล้เคียงกับเนื้อปูหรือลอบสเตอร์เลยทีเดียว 2.ก็อดซิลล่า ราเมน AKA เท้าไอ้เข้ราเมน ตั้งชื่อให้มันดูมีสตอรี่ ดูมีกิมมิคเรียกลูกค้า สร้างจินตนาการให้แก่นักชิม ใครจะเดินทางไปลองกินเป็นประสบการณ์ความอร่อยแบบแปลกๆ กำตังค์ไป 1,705 บาท สั่งมาลองชิมได้เลย ร้านอยู่ไต้หวันเหมือนเมนูก่อนหน้า ใครไม่กล้าชิม จะสั่งมาถ่ายรูปเฉยๆ ก็ได้ ทางร้านลดราคาพิเศษให้ เหลือเพียง 1,135 บาท 3.อ๊บอ๊บ ราเมน อีกหนึ่งของแปลกจากไต้หวัน ที่ดีกรีความโหดน้อยกว่า 2 เมนูแรกลงมานิดหน่อย ตรงที่การเอากบมาทำอาหารนั้นคนไทยหลายคนคุ้นชินและเคยสัมผัสรสชาติผ่านลิ้นกันมาบ้างแล้ว ซึ่งรสชาตินั้นจัดว่าเด็ดเลย เนื้อแน่นๆ เคี้ยวหนึบๆ อาจจะมีเอ๊ะบ้างก็ตรงที่การเสิร์ฟอ๊บอ๊บมาแบบเต็มตัว ให้ความรู้สึกเหมือนน้องนอนแช่น้ำจ้องหน้าเราอยู่ เลยไม่ค่อยกล้ากินแค่นั้นเอ๊งงง 4. จุ๊คาโครง แม้ว่าชื่อจะฟังแล้วได้ฟีลอาหารฝรั่งเศส แต่พอได้เห็นภาพการรับประทานเมนู “จุ๊คาโครง” นี้แบบใกล้ชิด อาจทำให้หลายคนต้องเบือนหน้าหนี การทานอาหารที่ได้ฟีลลิ่งแบบสิงโต แทะเนื้อวัวกันแบบติดซี่โครงนี้ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดก็คือการประหยัดแก๊ส ลดค่าไฟ ไม่ต้องหุงอุ่นตุ๋นต้มนึ่ง แต่ก็ไม่รู้ว่าการประหยัดเงินในการปรุงวัตถุดิบให้สุกนี้ จะต้องโยกไปจ่ายเป็นค่าหมอค่ายาให้โรงพยาบาลแทนรึเปล่าก็ไม่รู้ 5. ซุปค้างคาว แค่เห็นก็สยอง อย่าหาลองเลยเชียว เพราะค้างคาว ต่อให้กินสุกขนาดไหน ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเจ็บป่วยจากโรคแปลกๆ ที่อาจติดต่อจากค้างคาวแพร่ระบาดมาสู่มนุษย์ได้ สาระดีดี : เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อมาสู่มนุษย์ แนะนำให้ปิดมือถือ เปิดโหมดแอร์เพลน หรือดึงปลั๊กไวไฟที่บ้านออก เพียงเท่านี้โรคทั้งหลายก็ติดต่อเราไม่ได้แล้ว หึหึ