Skip links

สร้างสรรค์ สรรสร้าง Creative Economy ผ่านมุมมอง ดร.ชาคริต พิชญางกูร

ความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นสิ่งที่ถูกมองว่าตีค่า ตีราคาแน่ชัดไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วสิ่งนี้มีมูลค่าทาง เศรษฐกิจมากกว่าที่คิด

ในปัจจุบัน ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มากขึ้น และ กลายเป็นหนึ่งในตัวชูโรงเศรษฐกิจของหลายประเทศ รวมถึงทั้งไทยเอง อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ของประเทศไทยมีจำนวน 15 สาขา โดยในปี 2565 มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ประเทศไทยอยู่ที่ 1.28 ล้านล้านบาท เทียบเป็น 7.39% ของ GDP ประเทศ รวมทั้งมีอัตราการเติบโตจากการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน

อีกทั้ง ในช่วงที่ภาครัฐกำลังผลักดัน Soft Power อย่างจริงจัง ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ถือเป็น ส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อน Soft Power ไทยไปข้างหน้า รวมถึง “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568” หรือ “Bangkok Design Week 2025” (BKKDW2025) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 23 กุมภาพันธ์ 2568 ยังมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยได้แสดงศักยภาพและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติมากขึ้น 

วินาทีนี้ผู้ที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับพลังของความคิดสร้างสรรค์ไทยคงเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency : CEA)

“เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์”
– ดร. ชาคริต พิชญางกูร, 2568

วัฒนธรรม - รากเหง้าแห่งความคิดสร้างสรรค์

ใครจะทํางานสงกรานต์ยังไงก็ต้องให้ไทยทํา

แม้จะยังมีข้อถกเถียงเรื่องประวัติศาสตร์ที่มา แต่เมื่อพูดถึง เทศกาลสาดน้ำดับร้อนในช่วงเดือนเมษา ไม่ เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่นึกถึง เทศกาลสงกรานต์ แต่ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกต่างรู้จักเทศกาลนี้เป็นเสียงเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ประเพณีสงกรานต์ ของประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) แต่เพียง ผู้เดียวแล้ว

ต้นทุนทางวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

ข้อได้เปรียบหนึ่งของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยตอนนี้ คือ ต้นทุนทางวัฒนธรรมไทยมีความแตกต่าง โดด เด่น ไม่เหมือนชาติอื่น ทำให้บนเวทีโลกไม่มีใครสามารถเล่าเรื่องเหล่านั้นได้ดีเท่าไทย เหมือนดั่งโนราห์ มวย ไทย หรือประเพณีสงกรานต์ที่ไทยเป็นเหมือนเจ้าของ ไม่มีใครเลียนแบบได้ และยังไม่จำเป็นต้องไปคิดหรือ จดสิทธิบัตร แค่ต้องหาทางปกป้อง ให้ความสำคัญและต่อยอดเช่นนั้นแล้วต้นทุนทางวัฒนธรรม จะงอกเงยเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเติบโตเป็น Soft  Power ที่ แข็งแกร่งให้ไทยได้

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ เครื่องยนต์สำคัญส่งเสริมศักยภาพของ Soft Power

การดำเนินงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ตามนโยบายของรัฐบาลมีอยู่ทั้งหมด  13 ด้าน พร้อมเป้าหมายสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคนผ่านนโยาบาย OFOS (One Family One Soft Power) การพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาสินค้าและบริการ ทำให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นส่วนสำคัญ ในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยอย่างไม่อาจแยกขาดจากกัน

 

ดร. ชาคริต มองว่า ในเชิงคำจำกัดความ Soft Power เปรียบเสมือนการสร้างชื่อเสียงในเชิงบวกกลับมาให้ ประเทศ ดังนั้นแล้ว ในเชิงธุรกิจ การสร้าง Soft Power จึงไม่ต่างกับการสร้างแบรนด์ (branding) ให้กับ ประเทศไทย

แต่ใช่ว่าการสร้างแบรนด์จะเป็นเรื่องที่ตัดสินใจได้ง่ายดาย ทำให้จนถึงวินาที ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่เสมอ ว่า สรุปแล้ว ไทยควรขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 14 ด้านไปพร้อมกัน หรือ มุ่งเน้นไปเพียง 1 อุตสาหกรรมเป้าหมายแล้วขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นไปพร้อมกัน

ดร. ชาคริตมองว่า ในการสร้างแบรนด์ให้ไทยนั้น “ไม่จำเป็นต้องพูดเรื่องเดียว” สามารถพูดเรื่องหนึ่ง ๆ ในช่วงหนึ่ง ๆ ก่อน ให้เรื่องนั้นมีชื่อเสียงที่แข็งแรงก่อน ซึ่งจะเลือกอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพมากที่สุดใน สายตาชาวโลก เพื่อให้ชาวโลกได้ทำความรู้จักก่อน แล้วค่อย “เล่าเรื่องให้ชัดเจนเพียงเรื่องเดียว” จากนั้นจึง เชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันผลักดัน Soft Power ในลำดับต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม ดร. ชาคริตยังคงเน้นย้ำว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเท่านั้น อีก ทั้งยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้ง Thailand Creative Culture Agency (THACCA), กระทรวงวัฒนธรรม, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, กรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น เพื่อร่วมกันผลักดัน Soft Power ไทยไปสู่สากล

Design Week ดีไซน์เมือง

ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา มีย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ หลายแห่งถูกปลุกให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยงาน ออกแบบสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในระดับย่าน อาทิ เจริญกรุง – ตลาดน้อย, เยาวราช – ทรงวาด และปากคลองตลาด ที่ในทุก ๆ ปีจะถูกแต่งแต้มด้วยโปรแกรมให้ย่านนี้ครีเอทีฟมากขึ้น ด้วยผลงานออกแบบของเหล่านักสร้างสรรค์ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ ภายใต้ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Design Week

มากไปกว่านั้น Design Week ไม่เพียงปลุกให้ย่านเก่าในเมืองกรุงขึ้นมาเท่านั้น แต่ CEA ยังพาความคิด สร้างสรรค์เดินทางไปยังหัวเมืองใหญ่ 4 ภาค ทั้งเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design Week), เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ (ISAN Creative Festival) ที่ขอนแก่น รวมถึงเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ (Pakk Taii Design Week) ที่สงขลา เนื่องจาก แต่ละภูมิภาคมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกันและต่างต้องการงานออกแบบสร้างสรรค์ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเมืองและเศรษฐกิจ

ในสังคมที่ความคิดสร้างสรรค์ยังถูกมองข้ามและไม่ถูกตีค่าตีราคา ปิดกั้นให้นักสร้างสรรค์ไม่สามารถเติบโต เต็มวัยได้ตามที่ควรจะเป็น การมีอยู่ของ Design Week จึงอาจเป็นตัวแปรสำคัญให้นักสร้างสรรค์และทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากขึ้น

“Design Week เป็นพื้นที่ที่เปิดให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่อาจจะยังไม่มีโอกาสได้ปล่อยของ ได้มี โอกาสสร้างสายสัมพันธ์กับนักลงทุนกับธุรกิจร่วมกัน

“พัฒนาคน พัฒนาเมือง พัฒนาธุรกิจ” ถือเป็นภารกิจหลักของ CEA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ซึ่ง Design Week เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด เนื่องจาก เทศกาลนี้จะพานักสร้างสรรค์ ให้เข้าไปออกแบบแก้ปัญหาให้ชุมชน พัฒนาเมืองทั้งในเชิงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและความเป็นอยู่ที่ดี มากขึ้น อีกทั้งยัง เปิดพื้นที่ให้นักสร้างสรรค์มาพูดคุยพบปะกับนักลงทุน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่นัก สร้างสรรค์ ทำให้เกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้านไปพร้อมกัน

Minute Pocket / Urban Bed – โปรเจกต์ทดลองเปลี่ยนสวนร้างให้กลายเป็นสวนสาธารณะส่งเสริมการใช้พื้นที่ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ย่านปากคลองตลาด ถือเป็นหนึ่งในย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนั้น Bangkok Design Week 2025 ในปีนี้ ยังให้ความสำคัญกับนโยบาย Soft Power โดยเปิด โอกาสให้ตัวแทนบุคลากรจาก 14 อุตสาหกรรมแสดงผลงาน อีกทั้ง ยังมีการเชิญผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศมา พร้อมสนับสนุนให้เทศกาลนี้มีความสากลมากขึ้น

เมืองสร้างสรรค์ แต่คนใน (ไม่) เศร้าสร้อย

ใช้ระยะเวลาเพียง 7 ปี Bangkok Design Week สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไปมากกว่า 3,198 ล้านบาทนอกจากนี้ ในแง่กายภาพ ย่านต่าง ๆ ยังค่อย ๆ กลับมามีชีวิตอย่างเห็นได้ชัด เริ่มมีนักท่องเที่ยว มาเยือนมากขึ้น มีนักสร้างสรรค์เข้ามา มีคาเฟ่ มีสตูดิโอเปิดใหม่มากมาย ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ทั้งหมดนี้ล้วนมี ส่วนช่วยกระตุ้นให้ร้านค้ารายย่อยในพื้นที่ได้เติบโตตามไปด้วย

แต่สิ่งหนึ่งที่ตามมาด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้ คือ กระทบชีวิตผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมที่ใช้ชีวิตอยู่ในย่านนั้น โดย ดร. ชาคริต อธิบายว่า โดยปกติแล้ว การจัดนิทรรศการในแต่ละย่านจะเริ่มต้นด้วยโจทย์จากปัญหาและความ ต้องการของเมืองและชุมชนเสมอ แล้วร่วมกันขับเคลื่อนย่านให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ไปด้วยกัน ซึ่งอย่างไรก็ตาม ดร. ชาคริต มองว่า การจะพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ให้ยั่งยืนนั้น เมืองและชุมชนสามารถตกลง ร่วมกันได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลเสียที่จัดการไม่ได้หรือจัดการได้ช้าเกินไปตามมา

ดังนั้นแล้ว การพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านการจัดเทศกาลสร้างสรรค์ Design Week ทั้ง 4 ภาค จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีใน การพัฒนาเมือง พัฒนาคน พัฒนาธุรกิจในพื้นที่ให้เดินหน้า พร้อมรักษาอัตลักษณ์ชุมชนให้คงอยู่และเติบโตไปพร้อมกัน โดยใช้ความรุ่มรวยทางต้นทุนวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใครเป็นรากฐานในการต่อยอด รด น้ำพรวนดินอย่างใส่ใจ ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยแรงจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ และชุมชนที่พร้อมจะพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศให้เติบโต