“ตอนนี้ไรลีย์อายุ 13 แล้ว มาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น?”
เมื่อปี 2015 Disney และ Pixar พาให้เราทำความรู้จักกับอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ลั้ลลา (Joy) เศร้าซึม (Sadness) ฉุนเฉียว (Anger) กลั๊วกลัว (Fear) หยะแหยง (Disgust) ซึ่งอยู่ภายในความคิดของไรลีย์ แอนเดอร์สัน เด็กหญิงวัย 11 ปีที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ จนกลายเป็นแอนิเมชันยอดเยี่ยมในใจใครหลายคน
…
วันนี้ Disney และ Pixar พร้อมแล้วที่พาเรากลับเข้าไปในความคิดของไรลีย์อีกครั้ง แต่เป็นในเวอร์ชันที่ไรลีย์เติบโตขึ้น ย่างเข้าสู่วัย 13 ปี วัยแห่งการเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้เราเห็นว่าชีวิตวัยรุ่นเกิดอะไรขึ้นบ้าง
…
- 9 ปี 9 อารมณ์
หลังลั้ลลาทิ้งคำถามไว้พร้อมกับภาพปุ่มสีแดงปริศนา วัยแรกรุ่น (Puberty) มานานหลายปี ต่อภาค 2 ด้วยการเพิ่มคาแรกเตอร์ของอารมณ์ที่ซับซ้อนไปพร้อมกับการแตกเนื้อสาวของไรลีย์ ที่ทำให้ “ศูนย์บัญชาการใหญ่” ต้องเผชิญกับการรื้อถอนขยับขยายพื้นที่อย่างกะทันหัน ต้อนรับการก้าวเข้ามาของ “อารมณ์” ใหม่ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นว้าวุ่น (anxiety) อิจฉา (Envy), เขิ๊นเขินอ๊ายอาย (Embarrassment) และ เฉยชิล (Ennui) ที่จะมาป่วนอารมณ์ทั้ง 5
.
2.สำรวจความคิด ชีวิตวัยรุ่น ที่ซับซ้อนมากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่ Inside Out ทำมาได้ดีตลอด ตั้งแต่ภาคแรก ก็คือการเล่าเรื่องของ อารมณ์ กระบวนการทำงานภายในสมองและจิตใจ ที่เป็นเรื่องนามธรรมและวิทยาศาสตร์ มาดัดแปลงสู่ คาแรคเตอร์อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย
.
ด้วยความที่ไรลีย์อายุเพียง 11 ปี แต่ต้องเจอสถานการณ์ที่กระทบความรู้สึก ทำให้การแแสดงอารมณ์และกระบวนการต่าง ๆ ซับซ้อนในระดับหนึ่ง แต่ในภาคนี้ เราจะได้เห็นการเล่าถึงกระบวนการความคิดภายในจิตใจของวัยรุ่นที่ซับซ้อนมากขึ้นไปอีกขั้น
.
เพราะนอกจากอารมณ์ที่เพิ่มขึ้นมาถึง 4 ด้านแล้ว ยังมีการพัฒนาระบบความเชื่อ (Belief System) การรับรู้ตัวตน (Sense of self) พร้อมพาไปสำรวจระบบต่าง ๆ ภายในความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยไรลีย์คิด เชื่อและแสดงพฤติกรรรมแบบ “วัยรุ่น” ได้ชัดเจนมากขึ้น
.
3.“ว้าวุ่นเป็นสิ่งที่เริ่มปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น” – ผู้กํากับ เคลซีย์ แมนน์ (Kelsey Mann)
การก้าวเข้าสู่วัยรุ่น อารมณ์หลักที่ทุกคนต่างสัมผัสได้ นั่นก็คืออารมณ์ “ว้าวุ่น” แต่เมื่อว้าวุ่นก้าวเข้ามาเป็นผู้ควบคุมศูนย์บัญชาการใหญ่ คอยวางแผนปกป้องให้ไรลีย์จากอันตรายที่มองไม่เห็นและยังมาไม่ถึง เพื่อให้ไรลีย์ได้รับการยอมรับจากเพื่อนใหม่ ท้าทาย ที่ลั้ลลาและเหล่าอารมณ์ต่างๆ ร่วมสร้างกันมา จนเกิดเป็นคำถามที่ทำให้เราฉุกคิดได้ว่า ‘เมื่อเราโตขึ้น ความรู้สึกลั้ลลา (Joy) ของเราค่อยๆ หายไปอยู่ไหนนะ’
.
4.วัยรุ่น วัยวุ่นใจ
ไรลีย์ใน Insideout 2 จึงเป็นเหมือนตัวแทนของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยรุ่น ที่ต้องรองรับแรงกระแทกจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นช่วงชีวิตหนึ่งที่ทุกคนต่างต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราเพียงต้องโอบรับทุกอารมณ์ ทุกความรู้สึก เพราะ ทุกตัวตนของเราล้วนมีคุณค่า และไม่ว่าเราจะเป็นใคร ตัวเราก็คือตัวเรา
…
ใครที่แอบไปดูมาแล้วได้ข้อคิดดีๆ อะไรจากหนังเรื่องนี้อย่าลืมมาแชร์ให้เราฟังบ้างน๊าาาาา